พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหล่อโลหะพุทธศักราช ๒๕๐๘ อัฐเชิญพระบรมรูปหล่อโลหะรัชกาลที่ ๔ ขึ้นประดิษฐานณซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นที่ ๒ ของพระเจดีย์ใหญ่ด้านทิศตะวันออกพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้วัดบวรนิเวศได้ดำเนินการให้กรมศิลปากรจำลองจากพระบรมรูปองค์เดิมซึ่งประดิษฐานอยู่ณตำหนักเพ็ชรด้วยทุนบริจาคของหม่อมเจ้าจงจิตรถนอมดิศกุลนับเป็นพระบรมรูปจำลององค์ที่ ๒พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าองค์ต้นแบบซึ่งประดิษฐานณตำหนักเพ็ชรนี้เป็นพระบรมรูปที่มีความสำคัญมากเพราะเหตุว่าเป็นพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยรูปแรกที่สร้างขึ้นในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่และยังเป็นต้นแบบของพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดรโดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ทรงเป็นผู้อำนวยการปั้นและหล่อในพุทธศักราช ๒๔๑๔ประวัติความเป็นของพระบรมรูปซึ่งประดิษฐานแห่งประเทศฝรั่งเศสเวลานั้นยังไม่มีช่างไทยที่มีฝีมือถึงขนาดจึงพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ออกไปให้ช่างฝรั่งหล่อพระบรมรูปขึ้นตำหนักเพ็ชรเนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้หล่อพระบรมรูปไปตอบถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ณช่างผู้นี้คือเอมิลฟรังซัวชาตรูส (Emile Francois Chatrousse) ประติมากรชาวฝรั่งเศสลูกศิษย์ของฟรังซัวรูดปูจอลและดาเบลเดอ (François รูด) (d'Abel de Pujol) ศิลปินได้จำลองหุ่นพระบรมรูปด้วยปูนปลาสเตอร์สูงตลอดพระองค์รวมฐานด้วย 59 เซนติเมตรทาบรอนซ์ฉลองพระองค์เปิดพระอุระทรงพระภูษาโจงและทรงพระมาลาสก็อตเหมือนพระบรมฉายาลักษณ์ที่ฉายด้วยกันกับสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่โดยพระเพลาข้ ๔ พระบรมรูปทรงยืนในท่าตริภังค์ (Contrapposto)างซ้ายรับน้ำหนักของพระสรีระพระวรกายบิดเอี้ยวเล็กน้อยรายละเอียดของพระพักตร์รอยยับของพระภูษาทรงตลอดจนตราดาราและเครื่องประดับมาความเหมือนจริงมากปั้นเมื่อคริสตศักราช ๑๘๖๓ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๐๖ ที่กรุงปารีสแล้วส่งเข้ามาถวายทอดพระเนตรแต่ไม่ทรงโปรดเพราะไม่เหมือนพระองค์เพราะประติมากรเห็นเพียงแต่พระบรมฉายาลักษณ์จึงได้ปั้นหล่อพระวรกายผิดส่วนไปจากความเป็นจริงแม้แต่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งควรเป็นตราดาราไอราพตซึ่งไม่มีสายสะพายนั้นก็ทำเป็นสายสะพายห้อยดวงตราเลจองดอนเนอร์ (มรณะ ของฝรั่งเศสจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไทยทดลองปั้นถวายช่างไทยผู้นี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เข้าพระทัยว่า d'honneur), อาจเป็นหลวงเทพรจนา (พลับ) ซึ่งภายหลังได้เป็นพระยาจินดารังสรรค์ถึงแม้ว่าหลวงเทพรจนายังไม่เคยปั้นรูปเหมือนบุคคลสำคัญแต่เนื่องจากมีความสามารถในการปั้นรูปช้างและงานเบ็ดเตล็ดอื่นๆได้เหมือนจริงจึงได้รับมอบหมายให้ทดลองปั้นพระบรมรูปโดยยึดคติใหม่เป็นแบบตะวันตกการครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบโดยทรงแต่งพระองค์ตามรูปแบบที่ซาตรูสปั้นขึ้นมาจึงถือได้ว่าเป็นการปั้นพระบรมรูปมหากษัตริย์ไทยที่ยังดำรงพระชนม์อยู่เป็นครั้งแรกของไทยพระบรมรูปองค์นี้อยู่ในพระราชอิริยาบถยืนตรงทรงฉลองพระองค์เสื้อเยียรบับทรงพระภูษาโจงขอบเชิงทรงพระมาลาทรงหม้อตาลทรงสายสะพายเลจองดอนเนอร์ของฝรั่งเศสทรงฉลองพระบาทพระหัตถ์ขวาทรงจับพระแสงดาบหัตถ์นารายณ์ทอดปลายพระแสงดาบลงพื้นพระหัตถ์ซ้ายทรงถือหนังสือลักษณะพระบรมรูปมีความเหมือนที่พระพักตร์และพระวรกายซึ่งไม่อ้วนท้วนจนมีกล้ามเนื้อเป็นฝรั่งเหมือนอย่างผลงานของซาตรูสครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงโปรดเพราะหลวงเทพรจนาได้แสดงถึงฝีมือในการปั้นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยการผสมผสานลักษณะรูปเหมือนบุคคลตามคติตะวันตกกับการยึดถือความเกลี้ยงเกลาและความสวยงามเรียบง่ายตามคติอุดมคติไทยโบราณเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ยังได้ลบล้างความเชื่อเดิมที่ห้ามจำลองรูปเหมือนบุคคลขณะมีชีวิตอยู่เพราะเกรงว่าจะเป็นการบั่นทอนชีวิตให้สั้นลงอย่างไรก็ตามมิได้มีการหล่อพระบรมรูปองค์นี้เพราะมีผู้แย้งว่าเป็นเรื่องอัปมงคลที่จะนำพระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้งสุมไฟหลอมให้ละลายจึงได้แต่เพียงหล่อด้วยปูนปลาสเตอร์และทาสีแทนแล้วอัญเชิญไปเก็บไว้ในหอเสถียรธรรมปริตรต่อมาเมื่อหอเสถียรธรรมปริตรรื้อลงจึงย้ายไปเก็บไว้ที่หอราชพงษานุสรณ์ในรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีรกระทรวงมหาดไทยขอพระราชทานไปประดิษฐานไว้ณพระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาทในพระนครคีรีจังหวัดเพชรบุรีตามพระราชดำรัสแนะนำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๓ อสุนิบาตต้องพระที่นั่งองค์นี้แม้มิได้ต้องตรงถึงกับทำลายพระที่นั่งก็ดีแต่ความสะเทือนทำให้พระกรของพระบรมรูปชำรุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ซ่อมแซมพระที่นั่งและพระบรมรูปให้คืนดีดังเดิมถึงพุทธศักราช ๒๕๐๕ บรรดาพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าน่าจะคิดหล่อพระบรมรูปด้วยโลหะให้เป็นการถาวรเสียทีเดียวจึงได้นำความกราบบังคมทูลเจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ก็ทรงดำริเห็นชอบต่างก็ทรงประทานทุนทรัพย์ช่วยเหลือรวบรวมเงินได้๕๖,๗๓๓.๖๓จึงได้ดำเนินการให้กรมศิลปากรหล่อพระบรมรูปดังกล่าวด้วยโลหะเสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระบรมรูปหล่อโลหะนั้นไปประดิษฐานไว้ณพระที่นั่งเวชยันตวิเชียรปราสาทเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๕ต่อมาสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ) ทรงทราบเรื่องพระบรมรูปองค์เดิมยังคงอยู่ที่กรมศิลปากรทรงพระดำริว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จประทับณวัดบวรนิเวศวิหารเป็นเวลานานควรที่จักได้มีพระบรมรูปประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ด้วยเช่นกันจึงนำพระดำริปรึกษาผู้เกี่ยวข้องหลายท่านมีพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นต้นและต่อมาความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราช
การแปล กรุณารอสักครู่..
